摘要:การศึกษานีมี้วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์การทำงานของผู้สูงอายุวัยต้นและวัยกลางในจังหวัดชลบุรี 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานของผู้สูงอายุวัยต้นและวัยกลางในจังหวัดชลบุรี ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง 200 คน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. สถานการณ์ทำงาน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุวัยกลางไม่ได้ทำงาน และผู้สูงอายุที่ทำงานส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุวัยต้น ส่วนเหตุผลที่ผู้สูงอายุทำงาน เป็นเพราะต้องการมีรายได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น ผู้สูงอายุส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุวัยกลางจะทำงานอื่น ๆ (ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรมประมง รับจ้าง ค้าขาย การศึกษา การเมือง) อย่างไรก็ตามและผู้สูงอายุส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้สูงอายุวัยกลางรู้สึกไม่มีความสุขในการทำงาน 2. เปรียบเทียบความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงาน ภาพรวมพบว่า ผู้สูงอายุวัยต้นและวัยกลางมีความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และความรู้ทักษะในการทำงาน โดยผ้สูงอายุวัยต้นต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานภาพรวมมากกว่าผู้สูงอายุวัยกลาง เมื่อเรียงลำดับความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานพบว่า ผู้สูงอายุวัยต้น เรียงลำดับได้ดังนี้ (1) ด้านร่างกาย (2) ด้านจิตใจ (3) ด้านสังคม (4) ด้านความรู้ทักษะในการทำงาน ส่วนผู้สูงอายุวัยกลาง เรียงลำดับได้ดังนี้ (1) ด้านร่างกายและด้านจิตใจ (2) ด้านสังคม (3) ด้านความรู้ทักษะในการทำงาน This research aimed to study: 1) work situation of the Young-old and the Middle-old in Chon Buri, and 2) the comparison of needs for the development of work proficiency of the Young-old and the Middle -old in Chon Buri. The study employed quantitative methodology. 200 samples were selected. The research tool was questionnaire. The results were as follows: 1. Work situation Most of the elderly, especially the Middle-old group, were not working. The elderly who were still working was the Young-old group. The reason for working was that these elderly people, especially the Young-old ones wanted to earn income. Most of the elderly, especially the Middle-old group were working in various fields (that were not related to agriculture, fishing, laborer, trading, education, and politics). However, the elderly, especially the Middle-old ones, were not happy at work. 2. The comparison of needs for work efficiency development It was found that there were four aspects of differences in the needs for the development of work proficiency of the Young-old and the Middle-old at the significance level of 0.5. They included physical, mental, social, and working skills. The Young-old people wanted to develop their holistic working skills more than the Middle-old people did. The Young-old people’s needs for the development were ordered as follows: 1) physical development, 2) mental development, 3) social development, and 4) working skill development. The Middle-old people’s needs for the development were ordered as follows 1) physical development and mental development, 2) social development, and 3) working skill development.